ความเป็นมาของข้าวต้มด่าง










              





             ข้าวต้มด่าง   หรือ   ที่รู้จักกันทั่วไปว่า   อันซอมกะบ็อง   เป็นขนมพื้นบ้านของขาวจังหวัดสุรินทร์      จังหวัดบุรีรัมย์    และจังหวัดศรีสะเกษ   วิธีการทำ ' อันซอม กะบ็อง '   จะใช้ข้าวเหนียวผสมด้วยน้ำด่าง   ทำด้วยเปลือกมะพร้าว  เปลือกนุ่น  ( สะมอก เฎิม กัวร )  และ ผักขมหนาม ( ปะตีปันลา )                         นำไปเผาแล้วนำขี้เถ้าผสมน้ำ  กรองเอาน้ำใส  ห่อด้วยใบกล้วย ห่อเป็นรูปสามเหลี่ยม เวลาทานบางคน     อาจจิ้มกับน้ำตาลสามารถเก็บไว้กินได้นาน
สาเหตุที่ทำข้าวต้มด่างเป็นพวง  มีความเชื่อว่า เป็นการทำให้เกิดความสามัคคีปรองดอง  อยู่รวม    กันเป็นหมู่คณะ  
              ข้าวเหนียว    เป็นชื่อข้าวพันธุ์หนึ่งของชนิด Oryza sativa L. เนื้อเมล็ด ขุ่นกว่าข้าวเจ้า เมื่อหุงหรือนึ่งแล้วเมล็ดจะเหนียวติดกัน มีชื่อต่าง ๆ กัน เช่น ข้าวเหนียวเขี้ยวงู ข้าวเหนียวดํา, ข้าวเหนียวที่เอามากวนกับกะทิและนํ้าตาลทราย  เรียกว่า  ข้าวเหนียวแก้ว, ถ้าเอามากวนกับกะทิและนํ้าตาลหม้อมีสีแดงเป็นสีนํ้าตาลไหม้  เรียกว่า  ข้าวเหนียวแดง,   ถ้าเอามานึ่งใส่หน้ากะทิตัดเป็นชิ้น ๆ  เรียกว่า ข้าวเหนียวตัด, ถ้าเอามาห่อ แล้วนึ่งใส่หน้ากะทิ เรียกว่า ข้าวเหนียวห่อ เรียกผลไม้ที่มีเนื้อนุ่ม และเหนียวอย่างข้าวเหนียว เช่น สาเกข้าวเหนียว  มะตาดข้าวเหนียว  เมื่อหุงนึ่งแล้วเมล็ดจะเหนียวติดกัน ใช้รับประทานกันเป็นประจำในภาคเหนือและภาคอีสานตอนบน  และใช้ทำขนมต่าง ๆ ในภาคกลางและภาคใต้  ปริมาณข้าวเหนียวที่ผลิตตามภาคต่าง ๆ คิดเป็นร้อยละของผลผลิตทั้งหมดของแต่ละภาคมีดังนี้  คือภาคเหนือประมาณร้อยละ 92 ภาคอีสานประมาณร้อยละ 74 ภาคกลางประมาณร้อยละ 5 ภาคใต้ประมาณร้อยละ 6  คนไทยปลูกข้าวเจ้ามากกว่าข้าวเหนียว  เพราะจำนวนประชากรที่บริโภคข้าวเจ้ามีมากกว่า
 อย่างไรก็ตามข้าวเป็นอาหารหลักที่คนไทยรับประทานกันเป็นประจำวัน คนไทยประมาณร้อยละ 72  มีอาชีพในการทำนา  รายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของราคาสินค้าส่งออกของประเทศไทยได้มาจากการขายข้าว  ข้าวจึงเป็นรากฐานทางเศรษฐกิจของประเทศเนื่องจากเป็นแหล่งรายได้ของประชากรส่วนใหญ่    เราอาจกล่าวได้ว่าข้าวเป็นพืชที่สำคัญยิ่งต่อชีวิตของคนไทยทุก ๆ คน วัฒนธรรมไทยมีพื้นฐานอยู่ที่ข้าวและอาจจะเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมข้าว
             ข้าวต้ม  เป็นข้าวที่ต้มให้สุก  ข้าวเหนียวที่ห่อด้วยใบไม้เช่นใบตอง  หรือใบมะพร้าวอ่อน  แล้วต้มหรือนึ่งให้สุกอยู่ในจำพวกขนม  มีชื่อต่าง ๆ เช่นข้าวต้มมัด ข้าวต้มด่าง ข้าวต้มผัด
             น้ำด่าง   หมายถึง สารประกอบจำพวกไฮดรอกไซด์ของโลหะแอลคาไลน์ ซึ่งละลายน้ำได้ดี มีรสฝาด ถูกมือลื่นคล้ายสบู่




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น